เรื่องเล่า ” ก่อน จะเกิด สงครามแย่งน้ำ “

Spread the love


แม่น้ำเสนงเกล..เปรียบเป็นเช่นมารดา แม่ที่เคยให้น้ำนมหล่อเลี้ยงชีวิต ลูก หลาน ที่อาศัยอยู่2ฝั่งลำน้ำเสนงเกล .

๐๐ เล่ากันว่า แม่น้ำเสนงเกล เกิดจากบ่อน้ำหินศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาพนมซอ( เขาพระนางขาว)ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับเขาพนมกัมแปง( เขากำแพง-ภูเขาหน้าผา) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงแร็ก…

พนมกุเลน

เขาพนมกัมแปง ในสมัยโบราณเคยเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของผู้ปกครองอาณาจักรปะทายสมันต์ บนยอดเขาพนมกัมแปง เป็นที่พักอาศัยและที่เรียนรู้วิชาไศยเวทย์ ของพรามณ์ในไศวนิกาย.บนเขาพนมกัมแปงอยู่ได้เฉพาะผู้ชาย..ส่วนเขาพนมซอ (เขาพระนางขาว )เป็นที่อาศัยเฉพาะสตรี…ในทุกๆปี จะมีการบูชาบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาพนมซอ โดยพรามณ์จากเขาพนมกัมแปง เป็นผู้ทำพิธในปราสาทหินปล่อยน้ำอัมกฤตผ่านศิวลึงค์ ให้ใหลผ่านท่อโสมสูตร และใหลลงในแม่น้ำเสนงเกล..ทำให้ในหนี่งปี หญิง-ชาย ได้พบกัน อุปมา น้ำ คือการกำเนิดของชีวิต

พนมกุเลน

๐๐ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทีใหลจากยอดเขาพนมซอ ถือเป็นน้ำอัมฤกตที่ศักดิ์เป็นต้นน้ำอุปโภค บริโภคของผู้คนในเมืองปะทายสมันต์ เปรียบเทียบน้ำจากยอดเขาพนมซอ เปรียบเหมือนน้ำศักดิ์ที่เขาพนมกุเลน ที่ใหลไปหล่อเลี้ยงคนในเมืองอังกอร์วัด-อังกอร์ธม..และ ด้วยจารึกหินที่ปราสาทบันทายสรี เชิงเขาพนมกุเลน จารึกเป็นอักษรโบราณไว้ว่า.” เมื่อข้ามเขาพนมกัมแปง และพนมซอ จะพบเมืองสุเร็น.”

พนมกุเลน


๐ บริเวณที่ราบเชิงเขาพนมซอ พื้นที่ต้นน้ำเป็นที่ลุ่ม และ ชุ่มน้ำเหมาะแก่การ สร้างบ้าน สร้างมือง เพาะปลูก..ทางแคว้นสุริน ได้ส่งคนจากเวราะเลียงจึง(บ้านล้างเชิง- ล้างเท้า)ให้ถากถางพื้นป่า ตั่งชุมชนเพื่อดูแลแหล่งต้นน้ำและ ป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ เซราะกาบจึง(บ้านกาบเชิง- ฟันขา ) ได้สร้างคันดินเบี่ยงเบนทางน้ำขนาดเล็ก ที่แยกมาจากแม่น้ำเสนงเกลเพื่อกักเก็บในอ่างน้ำ บาราย..ด้วยความลาดชั่นของเขาพนมซอทำให้.แม่น้ำเสนงเกล ยังคงใหลแรงเชี่ยวหลากลงสู่พื้นราบ ตลอดสองข้างแม่น้ำเสนงเกลที่คดเคี้ยว ไปมา เกิดเป็นชุมชน มีคนอาศัยตลอดลำน้ำ

พนมกุเลน
แผนที่เส้นทางน้ำพนมดงรักสู่อ่างอำปึล

๐ เมื่อแม่น้ำเสนงเกล ใหลผ่าน เขาพนมซรวจ (เขาแหลม) ลงสู่พื้นราบ สองฝั่งแม่น้ำเสนงเกล เต็มไปด้วยต้นตะเคียนขนาดใหญ่.มีชุมชนและคนอาศัยมาแต่โบราณ กลุ่ม เซราะตาเคียน(บ้านตะเคียน)..แม่น้ำสเนงเกล ยังได้ใหล วกวน เข้าชุมชนโบราณที่มีหลักหินกำหนดอาณาเขตของชุมชนคือ ชุมชนโบราณตระเปียงตรัยธม..( บ้านหนองปลาใหญ่ ) ตะเปียงตรัยฉลูญ ( บ้านหนองปลาหลด) สองฝั่งแม่น้ำเสนงเกลมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์เลี้ยงและพืชการเกษตร. ลำน้ำเสนงเกลยังคง เลื่อยใหล คดเคี้ยวผ่านพื้นราบไปอย่างช้าๆเหมือนแม่งูใหญ่ที่กำลังเคลื่อนกาย..ใหลผ่านเข้าพื้นที่ของ นายพรานตาเดี่ยว(มีดวงตาข้างเดียว) ชื่อ ตาเบา

ชุมชนตาเบา กับงานวิจัยทรัพยกรลุ่มน้ำห้วยเสนง

๐ แม่น้ำเสนงเกลเมื่อใหลผ่านบริเวณบ้านตาเบา จะเริ่มแยกออกเป็นลำน้ำเล็กหลายสายแยกซ้าย-ขวาตามความลาดเอียงของพื้นที่..มีการสร้างทำนบเบี่ยงทางน้ำ เพื่อเก็บน้ำไว้ในบารายของชุมชน..แต่..ทำนบเกิดพังทลายลงเพราะความโกธา เชี่ยวกรากของแม่เสนงเกล..พืชไร่ พันธ์ข้าว เสียหาย สัตว์เลี้ยงจมน้ำตาย..ชาวบ้านมีการตั่งศาลขอขมาแม่เสนงเกล..เรียกว่าศาลบ้านทำนบ เซราะทำนบ..

อ่างอำปึล


แม่น้ำสเนงเกลสาขา ได้เคลื่อนใหลไปในที่ราบลุ่มและร่องน้ำโบราณ ฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วม ชาวบ้านต้องอาศัยอยู่บนโคกดงมะขามใหญ่ เซราะอำปลึ .. แม่น้ำได้ใหลตามร่องน้ำโบราณที่ลึกมาก เป็นที่ชุมนุมของพันธ์ปลาที่หลากหลาย ในสะดือร่องน้ำลึก มีจรเข้เยอะ ชาวบ้านต้องอาศัยตามโคก (เซราะ โคกกะเพอ) ร่องน้ำโบราณเป็นร่องน้ำที่ใหลจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ..คนโบราณว่าเป็นร่องน้ำที่ขว้างแนวดวงตะวัน(เซราะตะตึงไถง) ก่อนที่แม่น้ำเสนงเกลจะใหลไปสมทบที่ราบลุ่มมีต้นแคนา.เยอะ..เซราะจระเนียง(บ้านเฉนียง)มีเขื่อนขนาดใหญ่ขว้างแม่น้ำสเนงเกลและแบ่งเขตแดน..ทำให้แคว้นสุรินเป็นคนต้นน้ำ ส่วนแคว้นสุระ เป็นคนปลายน้ำ

อ่างห้วยเสนง

๐๐เป็นแค่เรื่องเล่า อย่าคิดว่าจริงครับ (2)

๐๐ เรื่องจริง พระธรรมโมลี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ บันทึกไว้ว่า.. ห้วยเสนง มาจากคำเขมรว่า สตึงแสนง..แปลว่า ลำห้วยเขาสัตว์ ( สตึง = น้ำ – แสนง= เขาสัตว์) เสนงเกล เป็น เขาควายที่ชาวช้างไว้เป่าบอกสัญญาน..๐๐

โดย : ชาคร ศิวะสมบูรณ์