สุรินทร์ขาดน้ำหนักการประปาขอลดแรงดันน้ำ อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ภัยแล้ง

Spread the love

เป็นที่ทราบกันดีว่า อ่างเก็บน้ำห้วยเสนงเป็นอ่างเก็บน้ำอ่างเดียวที่เป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อนำมาผลิตน้ำประปา ป้อนเขตเมือง หรือเทศบาลสุรินทร์ การปรากฏการณ์ “เอนิลโญ” ทำให้บรรยากาศโลกร้อนขึ้นกว่าปกติ น้ำในธรรมชาติแห้งเร็วขึ้น และ ส่งผลให้มีฝนลดลง

จากการเฝ้าสังเกตุการณ์จังหวัดสุรินทร์ดูจะเป็นจังหวัดแรก ๆ ที่ เกิดภาวะขาดน้ำและกระทบชุมชนเมือง อันเป็นชุมชนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัด น้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ นอกจากเราไม่สามารถโทษฟ้าฝนได้แล้ว แต่ข่าวสารความเคลื่อนไหวในกลุ่มเฝ้าระวังภัยภิบัติชาติ ส่งสัญญานต่อเนื่องเรื่องวิกฤตการณ์ “เอนิลโญ” เราจะพออนุมานได้ไหมว่า การขาดน้ำที่มาเร็วขนาดนี้อาจจะเป็นการบริหารน้ำที่ผิดพลาด ? หรือ พวกเราเองไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบ และละเลยถึงการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ?

วันที่ 30 เมษายน 2562 การประปาส่วนภูมิภาค สาขาจังหวัดสุรินทร์ ลงนามโดย นายไมตรี เขตตะ ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาค สาขาสุรินทร์ เรื่องขอลดระดับแรงดันน้ำเนื่องจากวิกฤตการณ์ภัยแล้ง การขอลดระดับแรงดันนั้นคือการลดกำลังการผลิต ส่งผลกระทบกับผู้อยู่ปลายท่อทันที โดยเฉพาะชุมชนการเคหะ ที่น้ำกระปริดกะปรอยมาตลอด แม้ไม่เกิดเหตุการวิกฤติภัยแล้งก็ตาม

ขณะเดียวกัน วันที่ 30 เมษายน 2562 ผอ.ชลประทานที่ 8 สุรินทร์ ให้สัมภาษณ์กับทางผู้สื่อข่าวช่องสามว่า น้ำดิบ ณ เวลานี้เหลือน้อยกว่าทุกปีมาก ซึ่งเหลือเพียง 3.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงอย่างไร ยังไม่น้ำจากอ่างเก็บน้ำอำปึล ที่จะเป็นแหล่งน้ำสำรอง อีก 2.2 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาได้อีก 2 เดือน ถึงอย่างไรก็ขอให้พี่น้องประชาชนชาวสุรินทร์ร่วมกันประหยัดน้ำ

ในวิกฤติอาจจะเป็นโอกาส

เมื่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเรื่องน้ำห้วยเสนงแห้งขอด ประชาชนผู้ใช้น้ำก็ร่วมกันเสนอและเรียกร้องให้มีการขุดลอก อ่างเก็บน้ำบ้าง ซึ่งอาจจะเก็บน้ำได้มากกว่าเดิม ใช้น้ำได้ยาวนานขึ้น

รวมถึงความเห็นที่เป็นประโยชน์และมองอยู่บนฐานความจริงเรื่องการบริหารจัดการน้ำของทางชลประทาน ที่ทางชลประทาน และการประปา เองต้องเอียงหูฟังบ้าง

รวมถึงประชาชนชาวสุรินทร์ คงได้กลับมาร่วมแรงร่วมใจช่วยกันอีกครั้ง มีความตระหนักใช้น้ำอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และ ไม่ทิ้งกัน เหมือนครั้งตอนเกิดน้ำท่วมจังหวัดเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมาก็เป็นได้

สุรินทร์ร้อยแปด – รายงาน